top of page


คุณค่าของเรื่อง
วิเคราะห์คุณค่าของเรื่อง
๑. แนวคิดที่สำคัญของเรื่อง -แนวเรื่องใหญ่ - แนวเรื่องหลักของพระอภัยมณีเป็นเรื่องพลัดพรากและการติดตามหากัน จะดำเนินเรื่องเป็นตอนๆ มักเกี่ยวพันกับเรื่องตัณหาของมนุษย์ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา - ตัณหาเหล่านี้นำไปสู่ความวุ่นวาย คือการสงครามระหว่างเมืองผลึกและเมืองลังกา
- สุนทรภู่จบเรื่องด้วยการให้ตัวละครสำคัญออกบวช
-แนวเรื่องย่อย เป็นการอธิบายพฤติกรรมของตัวละครเป็นตอนๆ
ตอนพระอภัยมณีเรือแตก แนวคิดหรือสาระสำคัญ ได้แก่ความรักของหญิงชายที่ไม่คู่ควรกัน ย่อมสลัดรักตัดรักกันได้ง่าย เช่น ความรักระหว่างผีเสื้อสมุทรกับพระอภัยมณี
ตอนสินสมุทรโดยสารเรือโจรสุหรั่ง แนวคิดสำคัญคือ
- เด็กต้องการความรักและความอบอุ่นจากมารดา
- เด็กย่อมมีประสบการณ์น้อยกว่าผู้ใหญ่ จึงขาดความรอบคอบ
- การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาอย่างฉลาด ทำให้พันอันตรายได้
๒. คุณค่าของเรื่อง -คุณค่าด้านเนื้อเรื่อง - เรื่องเป็นแนวใหม่ต่างจากเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ โดยนำเรื่องราวจากที่ต่างๆ มาประกอบเป็นโครงเรื่อง ทำให้เรื่องน่าตื่นเต้น เร้าอารมณ์ผู้อ่านให้อยากรู้อยากเห็น อยากติดตามเรื่อง
- ฉากของเรื่องเกี่ยวกับท้องทะเล เกาะและเมืองชายทะเล ก่อนให้เกิดบรรยากาศเงียบเหงา ว้าเหว่ น่ากลัว ซึ่งผิดกับวรรณคดีเรื่องอื่นๆ
-คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑) จินตนาการ สุนทรภู่มีความคิดก้าวหน้าในด้านวิทยาการสมัยใหม่ และความคิดเหล่านั้นกลายมาเป็นความจริงในภายหลัง
มีกำปั่นนั้นยาวยี่สิบเส้น กระทำเป็นตึกกว้านสถานถิ่น
หมากมะพร้าวส้มสูกปลูกไว้กิน ไม่รู้สิ้นเอมโอชโภชนา
เลี้ยงแพะแกะไก่สุกรห่าน คชสารม้ามิ่งมหิงสา
มีกำปั่นห้าร้อยรายล้อมมา เครื่องศัตราสำหรับรบครบทุกลำ
๒) การพรรณนา
- อารมณ์ขัน
นางผีเสื้อเบื่อหูว่าจู้จี้ เจ้าบาลีเลือกแปลมาแก้ไข
ไหนนรกตกลงที่ตรงใด ช่วยพาไปดูเล่นให้เห็นจริง
- อารมณ์อ้างว้างเปล่าเปลี่ยว
ยะเยือกเย็นเส้นหญ้ารุกขาเขา สงัดเหงาเงียงเสียงสำเนียงหาย
จันทร์กระจ่างพร่างพื้นโพยมพราย เรไรรายหริ่งร้องทั้งลองไน
.............................................................
นางฟื้นองค์ทรงกายกระหายหิว ให้หวิวหวิวหวาดไหวฤทัยถวิล
ภาณุมาศผาดเยี่ยมเหลี่ยมเมฆิน นางปลุกสินสมุทรไม่ไหวกายา
- ให้จินตภาพชัดเจน
สำเภาโผนโยนโยกโบกสะบัด หางเสือพลัดพลาดเสียงฉาดฉาน
เหล่าล้าต้าต้นหนพวกคนงาน ต่างเซซานซวนทรงไม่ตรงกาย
๓) ลีลากลอน - การใช้คำให้เกิดความงามทางด้านภาษาและให้อารมณ์
- การเล่นคำสัมผัสอักษร กลอนส่วนมากจะมีสัมผัสอักษรได้ไพเราะมาก เช่น
ครั้นลูกหลับกลักลุกทุกข์สะอื้น จนดึกดื่นเดือนลับไม่หลับใหล
เผยหน้าต่างวังเวงวิเวกใจ ละห้อยไห้หวนคิดถึงบิดา
๔) การใช้ความเปรียบ (อุปมาอุปไมย) แล้วผันผายกายก่ำดังตำลึง ให้รุมรึงร้อนรนสกนธ์กาย
ซึ่งเมตตาว่าจะเลี้ยงไว้เคียงคู่ พระคุณอยู่ข้าพเจ้าเท่าเขาหลวง
ตัวเป็นกามาประสงค์ซึ่งหงส์ทอง จะไปถองเสียให้สมอารมณ์มัน
๕) การใช้สำนวนภาษา “โจรสุหรั่งฟังนางว่าช่างพูด บิดตะกูดเกเรทำเผลไพล่”
“มิโอนอ่อนผ่อนผันทำปั้นปึ่ง จะให้ถึงปล้ำปลุกสนุกหรือ
๓. คุณค่าด้านความรู้ วัฒนธรรมและประเพณี
- ด้านการครองเรือน “ซึ่งเมตตาว่าจะเลี้ยงไว้เคียงคู่ พระคุณอยู่ข้าพเจ้าเท่าเขาหลวง
แต่อย่าให้ได้อายชายทั้งปวง ค่อยหนักหน่วงอย่าเพ่อด่วนทำลวนลาม”
- การตีฆ้องร้องป่าว เช่น เมื่ออังกุหร่า แจ้งให้ไพร่พลทราบข่าวให้ยอมแพ้แก่สินสมุทร
“แล้วตีฆ้องร้องป่าวเหล่าทหาร มาหมอบกรานเรียงรายทั้งซ้ายขวา
หน่อนรินทร์สินสมุทรก็พูดจา ภิปรายปราศรัยทั่วทุกตัวคน”
- การเดินเรือ สมัยก่อนเวลากลางคืนเรือที่แล่นในทะเลต้องจุดไฟไว้ที่ปลายเสา และเนื่องจากมีการเดินเรือเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการยิงปืนให้สัญญาณกันตลอดเวลา
ครั้นพลบค่ำโคมรายทุกปลายเสา ทหารเป่าแตรสัญญาดังฟ้าลั่น
ยิงปืนตึงปึงปังประดังกัน เป็นสำคัญทุ่มยามตามสัญญา การแสดงสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษในเรื่องพระอภัยมณีสะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม ความเชื่อของบรรพบุษ เช่น
- พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ สังคมไทยผูกพันอยู่กับพระมหากษัตริย์ หากขาดองค์พระประมุขแล้ว พลเมืองย่อมว้าเหว่ขาดที่พึ่ง ไพร่ฟ้าประชาชนย่อมได้รับความเดือดร้อน
โอ้สงสารผ่านเกล้าเจ้าประคุณ เมื่อมีบุญสารพัดไม่ขัดขวาง
จากสมบัติพลัดพรายมาวายวาง เสียในกลางเกลียวคลื่นไม่คืนเมือง
...........................................................................................
ทั้งไพร่ฟ้าสารพัดจะขัดเคือง ใครจะเปลื้องปลดร้อนให้ผ่อนเย็น - เรื่องพระอภัยมณี แสดงให้เห็นภัยจากโจรสลัดที่เที่ยวดักปล้นเรือต่างๆ ในทะเล เช่น
“คอยตีเรือเหนือใต้ได้สิ่งของ เที่ยวแล่นล่องตามคลื่นทุกคืนค่ำ”
- ความเชื่อเรื่องเวทมนต์คาถา เช่น
จะล่มลำสำเภาเข้าไม่ได้ แลเห็นไฟล้อมเหมือนกับเขื่อนขัณฑ์
ด้วยเดชะเวทมนต์คนทั้งนั้น ประกอบกันผีสางให้ห่างตัว
..................................................................
จะจับผัวกลัวมนต์เป็นพ้นไป แต่โลดไล่โผผางมากลางคืน
- ความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ สุนทรภู่ได้สอดแทรกหลักธรรมในเรื่องการนับถือพระพุทธศาสนา ไว้ในเรื่องมากมาย โดยเฉพาะเรื่องบาปบุญคุณโทษเพื่อให้คนประพฤติดี ทำบุญสร้างกุศล
อย่าลุ่มหลงจงอุตส่าห์รักษาศีล ให้เพิ่มภิญโญไปดังใจหมาย
อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตคิดอุบาย จะจำตายตกนรกอเวจี
ความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ - มนุษย์ย่อมมีความรัก ความรักย่อมนำมาซึ่งความทุกข์
นางผีเสื้อสมุทรรักพระอภัยมณี เป็น ความรักระหว่างชายกับหญิงและได้รับความทุกข์จากการที่พระอภัยมณีหนีจากนาง
นางสุวรรณมาลีกับสินสมุทร เป็นความรักระหว่างแม่กับลูก เมื่อนางสุวรรณมาลีเห็นสินสมุทรสลบไปก็เกิดความทุกข์กลัวสินสมุทรจะสิ้นชีวิต
โจรสุหรั่ง ก็อยากได้นางสุวรรณมาลีเป็นภรรยาทำให้เป็นความทุกข์เพราะไม่ได้รับความรักตอบ ทำให้ต้องตายด้วยฝีมือของสินสมุทร
- ความขัดแย้งของมนุษย์เกิดจากกิเลสตัณหา ซึ่งผิดศีลทั้งสิ้น การผิดศีลย่อมทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น
- ผู้นำต้องมีความยุติธรรม เห็นอกเห็นใจ มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นจึงจะเป็นผู้นำที่ดีได้ เช่น พฤติกรรมของสินสมุทร เมื่อฆ่าโจรสุหรั่งแล้วก็ไม่ได้ทำร้ายผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีความเมตตากรุณาต่อบรรดาโจรสลัด หลังจากให้ทุกคนเลิกประพฤติตัวเป็นโจรสลัดแล้ว สินสมุทรยังได้นำงินทองของโจรสุหรั่งออกมาแจกแก่โจรทุกคน และให้อังกุหร่ามีสิทธิ์ขาดในการคุมเรือ เพราะเคยเป็นรองหัวหน้าโจรมาก่อน
-รูปรสกลิ่นเสียง อันได้แก่ร่างกายไม่เป็นแก่นสาร เป็นหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่สุนทรภู่ต้องการชี้ให้ผู้อ่านเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เช่นตอนที่พระอภัยมณีเทศนาสอนผีเสื้อสมุทรว่า
แล้วทรงเดชเทศนาภาษาไทย ด้วยความในโลกีย์สี่ประการ
คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส ที่คฤหัสถ์หวงแหนไม่แก่นสาร
ครั้นระงับดับขันธสันดาน ย่อมสาธารณ์เปื่อยเน่าเสียเปล่าตาย
๔. คุณค่าด้านศิลปกรรม การละครและดนตรี - ด้านประติมากรรม ได้มีการสร้างรูปพระอภัยมณีเป่าปี่ รูปนางผีเสื้อสมุทร และนางเงือก โดยปั้นรูปตัวละครเหล่านี้ไว้ที่อนุสารรีย์สุนทรภู่ ที่ อ. แกลง จ. ระยอง
- ด้านการละคร ได้มีการนำเรื่องพระอภัยมณีไปแสดงละคร ลิเก หุ่นกระบอก และสร้างเป็นภาพยนตร์การูตูนเรื่องสุดสาคร
- ด้านการดนตรีและเพลง ได้มีการนำกลอนในเรื่อง พระอภัยมณีไปขับร้องเป็นเพลงต่างๆ ในวงมโหรีและปี่พาทย์ และยังนำกลอนบางตอนไปเป็นเนื้อร้องในเพลงสากล เช่น “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน”
ที่มา http://thaim5.blogspot.com/2012/12/blog-post_5170.html
bottom of page